Powered By Blogger

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

เเบบทดสอบปลายภาค

1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กำลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามกระแสสังคมต้องมีการวางแผนและปรับใช้อย่างรอบคอบ เพื่อให้บรรลุผลสูงสุดในทางปฏิบัติและคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาคงต้องวิเคราะห์รายละเอียดและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการปรับใช้กับผู้เรียน และประการสำคัญคือตัวผู้สอนคือ “ครู” คงต้องมีทักษะและสร้าง Computer Literacy ที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของตนเอง เพื่อรับมือกับอิทธิพลการปรับใช้แท็บเล็ตในการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนดังกล่าวควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันโดยรวม 2. สมาคมอาเซียน สมาคมอาเซียน ก็คือ การรวมกลุ่มเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 นั่นเอง โดยมีสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จะก้าวเข้าสู่ความร่วมมือกันในมิติใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า (2558) ทั้ง 10 ประเทศนี้อาเซียนจะทำให้ ประชากรของประเทศสมาชิกจะไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และง่ายดายขึ้นไม่ต้องมีวีซ่าและไม่ต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวด คือมีสภาพคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มประเทศเดียวกัน โดยไม่ได้สูญเสียความเป็นเอกราช และอธิปไตยของตนไป การเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเข้าสู่สมาคมอาเซียน ประเทศของเรา และประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ เวียดนาม เราต้อง มุ่งเน้นในการสร้าง “เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนา “คน” เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทุกด้าน แรงงานของไทยต้องไม่มีปัญหาเรื่องทักษะของงาน เพื่อนำไปสู่การแข่งขันในเวทีภูมิภาคและเวทีโลกได้ และจะต้องพัฒนาผู้นำ หรือผู้บริหารทุกระดับทุกสาขาวิชาชีพให้มีทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารมากขึ้นครับ การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน -การเตรียมตัวของครู ครูต้องสามารถนำความรู้มาใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพตัวเองโดยการเสนอข้อมูลด้านความรู้ ความสามารถของเยาวชนในประเทศอาเซียนมาบอกให้ผู้เรียนได้รับรู้เช่นความสามารถด้านการศึกษาของเยาวชนประเทศสิงคโปร์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก หรือความสามารถด้านภาษาของเยาวชนฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม ที่ส่วนใหญ่สามารถพูดได้มากกว่า 2 ภาษา พร้อมกระตุ้นให้ตระหนักว่าจะต้องเร่งรีบขวนขวายพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต -การเตรียมตัวของนักเรียน นักเรียนเราควรจะพูดได้ อย่างน้อย 2 ภาษา อันดับแรกนั้นคือภาษาไทย เพราะว่าเป็นภาษาประจำชาติของเรา และต้องพูดภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะกฏบัตรอาเซียนนั้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ดังนั้น นักเรียนจึงควรที่จะเรียนภาษาอังกฤษกันมากขึ้น ผมก็จะถือว่าเป็นการดีมากที่นักเรียนไทยใส่ใจในภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น และจะเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียนได้เท่าทันประเทศอื่นๆเขาบ้าง -การเตรียมพร้อมของนักศึกษา นักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น จากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ และการเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่ จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์ การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้ และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี 3. บทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ในปัจจุบัน ผมคิดว่าครูเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนานักเรียนในทุกด้านซึ่งครูจะต้องมีภาวะที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ และบทบาทของครูหรือผู้นำทางการศึกษานั้นจะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม เป็นผู้นำทางปัญญาได้ มีความรอบรู้ด้านใดด้านหนึ่งชัดเจน อาศัยความรู้ประสบการณ์ที่ดีในอาชีพ ต้องเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นตัวแบบ ตัวอย่างที่ดี เช่น ครูจะต้องทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้องตนเอง และเป็นนักพัฒนา มีความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดี ไม่มีอคติกับนักเรียน ต้องแยกแยะอารมณ์ส่วนตนกับการทำงานให้ได้ไม่ใช่ว่าเอางานมาปนกับเรื่องส่วนตน เพราะจะทำให้ผลลัพธ์จากการสอนนั้นไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ตัวอย่าง ครูอารมณ์เสียมาแต่ไหนก็ไม่รู้ มาถึงโวยวายกับนักเรียน พอนักเรียนโต้เตียงเล็กน้อย กลับไม่พอใจ ด่าตอบ และจะให้นักเรียนคนนั้นติดศูนย์คือไม่ผ่านนั้นเอง นี้ก็เป็นตัวอย่างของการมีภาวะผู้นำของครูที่ดี ไม่สมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างครับ 4. การเรียนรู้โดยใช้บล็อก การเรียนรู้วิชาบล็อกเป็นวิชาที่ให้ประโยชน์เเก่ตัวผู้เรียนเป็นอย่างมากครับ เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันเยาวชนให้ความสนใจกับอินเตอร์เน็ตมากขึ้น เเละวิชาบลบ็อกก็เป็นวิชาหนึ่งที่มีการเรียนรู้ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เป็นวิชาที่เหม่ะสมกับเยาวชนรุ่นใหม่ สามารถเรียนรู้ได้ในรูปเเบบที่ได้ทั้งความรู้เเละได้ทั้งเทคโนโลยี เเละต่อไปในอนาคตผมก็จะเป็นคุณครู ผมก็จะนำบล็อกมาสอนเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่ดี เเละทันสมัยครับ 4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด การเรียนในวิชานี้ผมมีความพยายามเป็นอย่างยิ่ง เพราะผมต้องการเป็นครูยุคใหม่ สามารถใช้บล็อกไปประกอบการเรียนการสอนได้ ผมได้ฝึกการจัดวางบล็อก และพยายามคิดที่จะทำให้บล็อกของผมออกมาดูสวยงาม วิชานี้ผมอยากได้ Aครับ เพราะผมชอบวิชานี้ บล็อกทำให้ผมรู้วิธีการเรียนเเบบใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน 4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน สำหรับวิชานี้ ผมได้เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเลยครับ เพราะเป็นวิชาที่น่าสนใจมากเลย 4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน ผมได้ทำงานส่งผ่านบล็อกที่อาจารย์กำหนดทุกครั้ง แม้จะทำงานช้าไปบ้าง แต่ผมก็ส่งตามกำหนดครับ 4.4 ทำงานผ่านบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น ผมได้ทำงานผ่านบล็อกด้วยความสามารถของตัวผมเอง ด้วยการสรุปความคิดรวบยอดเป็นองค์ความรู้จากการอ่านบทความหลายๆ บทความมารวมกันจากหนังสือ และทางอินเทอร์เน็ตครับ 4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก ในสิ่งที่ผมตอบมาทุกประการนั้นล้วนแต่เป็นความสัตย์จริงทั้งสิ้นครับ เพราะผมยึดมั่นในความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก และผมมีอุดมการณ์ที่ว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" ไม่มีสิ่งใดที่ผมทำไม่ได้ หากผมได้ตั้งมั่น ปฏิญาณกับตนเองแล้วว่าจะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ครับ

กิจกรรมที่9

1.ให้นักศึกษาเล่าถึงคุณครูที่ชื่นชอบ และมีคุณสมบัติอย่างไร หากนักศึกษาจะเป็นคุณครูที่ให้ได้แบบอย่างนี้ นักศึกษาจะมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร เขียนบรรยายวิธีการไปสู่เป้าหมายของคุณครูที่ชื่นชอบ -ครูที่ผมชื่นชอบและจะเป็นครูในแบบอย่างนั้น คุณสมบัติง่ายๆที่สำคัญที่ครูทุกคนควรมี คือ ลักษณะที่ดี 10 ประการ คือ 1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว 2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์ 3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม 4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม 5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน 6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด 7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง 8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น 9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ 10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์ -คุณลักษณะ 10 ประการนี้ เป็นทั้งแนวทางและเป้าหมายในการนำผมไปสู่ครูที่ชื่นชอบ ทำให้การจัดการศึกษาและอบรมสั่งสอนนักเรียน ของสถานศึกษาทุกระดับและเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษาต้องถือปฏิบัติด้วยเช่นกันผู้บริหารการศึกษาคือผู้ที่เป็นหัวหน้าสถานศึกษา คือ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการ และรวมไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย หรือรองของตำแหน่งผู้บริหารทุกระดับเป็นผู้มีความสำคัญต่อการจัดการและพัฒนาจริยศึกษาในสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่งเพราะผู้บริหารการศึกษาเป็นทั้งผู้นำและเป็นผู้วางแผนการต่าง ๆ ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนทั้งหลายได้รู้จักและเข้าใจในหลักจริยธรรม เพื่อที่จะได้เป็นครูที่ดีได้ครับ 2.ให้นักศึกษาเล่าถึงวิธีการจัดห้องเรียนที่ดี มีกระบวนการทำอย่างไร หากมีภาพประกอบให้แทรกภาพมาด้วย - วิธีการจัดห้องเรียนที่ดี ควรมีการจัดและกระบวนการ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ คือ -การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจ แก่ผู้พบเห็น ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว การจัดบรรยากาศทางด้ายกายภาพ ได้แก่ การจัดสิ่งต่อไปนี้ 1. การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน 1.1 ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน 1.2 ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว 1.3 ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน 1.4 ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน 1.5 ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน 1.6 แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ 2. การจัดโต๊ะครู 2.1 ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย 2.2 ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน 3. การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดาน ดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย 3.1 จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน 3.2 จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน 3.3 จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้ 3.4 จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง แนวการจัดป้ายนิเทศ เพื่อให้การจัดป้ายนิเทศได้ประโยชน์คุ้มค่า ครูควรคำนึงถึงแนวการจัดป้ายนิเทศในข้อต่อไปนี้ 1. กำหนดเนื้อหาที่จะจัด ศึกษาเนื้อหาที่จะจัดโดยละเอียด เพื่อให้ได้แนวความคิดหลัก หรือสาระสำคัญ เขียนสรุป หรือจำแนกไว้เป็นข้อ ๆ 2. กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดโดยคำนึงถึงแนวความคิดหลักสาระสำคัญของเรื่องและคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการเขารู้อะไร แค่ไหน อย่างไร 3. กำหนดชื่อเรื่อง นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ดู ชื่อเรื่องที่ดีต้องเป็นใจความสั้น ๆ กินใจความให้ความหมายชัดเจน ท้าทาย อาจมีลักษณะเป็นคำถามและชี้ให้เห็นวัตถุประสงค์ในการจัดแผ่นป้าย 4. วางแผนการจัดคล่าว ๆ ไว้ในใจ ว่าจะใช้วัสดุอะไรบ้าง แล้วจึงช่วยกันจัดหาสิ่งเหล่านั้น อาจเป็นรูปภาพ แผนภาพ ภาพสเก็ตซ์ ของจริง หรือจำลอง การ์ตูน เท่าที่พอจะหาได้ 5. ออกแบบการจัดที่แน่นอน โดยคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ โดยสเก็ตซ์รูปแบบการจัดลงบนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายแผ่นป้าย ว่าจะวางหัวเรื่อง รูปภาพ และสิ่งต่าง ๆ ในตำแหน่งใด คำบรรยายอยู่ตรงไหน ใช้เส้นโยงอย่างไรจึงจะน่าสนใจ ควรออกแบบสัก 2 - 3 รูแบบ แล้วเลือกเอารูปแบบที่ดีที่สุด 6. ลงมือจัดเตรียมชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้มีขนาดและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขึ้นแสดงบนแผ่นป้ายได้อย่างเหมาะสม หัวเรื่องจะใช้วิธีใด ภาพต้องผนึกไหม คำบรรยายจะทำอย่างไร เตรียมให้พร้อม 7. ลงมือจัดจริงบนแผ่นป้ายตามรูปแบบที่วางไว้ อาจทดลองวางบนพื้นราบในพื้นที่เท่าแผ่นป้ายก่อน เพื่อกะระยะที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้จริง 4. การจัดสภาพห้องเรียน ต้องให้ถูกสุขลักษณะ กล่าวคือ 4.1 มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้สะดวก 4.2 มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อเป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป 4.3 ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ 4.4 มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน 5. การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน ได้แก่ 5.1 มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง ส่งเสริม การค้นคว้าหาความรู้ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือหลาย ๆ ประเภท ที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยนบ่อย ๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน 5.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ ช่วยเสรมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ข่าว เหตุการณ์ ฯลฯ 5.3 มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือจัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้งยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลำดับได้อีกด้วย 5.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่าเกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง 5.5 การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คำขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรกรุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ควรฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้นแสง อาจทำให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม 5.6 มุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือเครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ

กิจกรรมที่8

การเป็นครูมืออาชีพในความคิดของกระผม สำหรับความคิดที่ได้เรียบเรียงพร้อมศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความคิดที่แปลกใหม่มาแล้วนั้นคือ อย่างแรกต้องรักในวิชาชีพครูก่อนเพราะถ้าเราทำอะไรด้วยใจรักแล้วสามารถทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จได้ การเป็นครูต้องมีเมตตาศิษย์อย่างจริงใจ รักลูกศิษย์เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเด็กเก่งหรือไม่เก่ง ไม่แบ่งแยกคนเก่งกับไม่เก่งออกจากกันและชอบสอนแต่เด็กเก่งๆ เพราะนั่นหมายความว่าครูไม่ได้ผลิตครูอย่างทั่วถึงแต่เป็นการทำหน้าที่แบบผ่าน ๆ ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ลูกศิษย์ดูก่อน ไม่ใช่แค่ตักเตือนแต่ครูไม่ได้ทำให้ดู ขณะที่สอนครูควรมีอารมณ์ขันอยู่เสมอเพื่อให้บรรยากาศน่าสนใจ รู้ว่าเวลาไหนเล่นเวลาไหนต้องทำหน้าที่ ครูไม่ใช่เท่าแต่สอนแค่ในโรงเรียนแต่ควรมีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับชุมชนด้วย และสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนทุกเรื่อง นอกจากด้านคุณธรรมจริยธรรมแล้ว ครูมืออาชีพต้องมีความรู้ที่สามารถถ่ายทอดแล้วได้ผลจิงคือสอนนักเรียนเข้าใจในเนื้อหานั้นอย่างถ่องแท้และเตรียมความพร้อมมาอย่างดีในทุกประเด็นเพื่อจะได้ถ่ายทอดด้วยเวลาที่ไม่มาก หรือพูดอีกนัยนึงว่า สั้นง่ายแต่ได้ใจความเพราะจะได้นำเวลาที่เหลือทำกิจกรรมการเรียนอื่นๆ ควรดำเนินกรไปพร้อมๆกับการทำกิจกรรมในชั้นเรียนด้วย จากที่ได้กระผม ศึกษาปัญหาของครูฝึกประสบการณ์นั้นก็จะเป็นเรื่องของเด็กไม่เชื่อฟังคุณครู พูดง่าย ๆ คือเด็กซนแต่ถ้าครูคนใดหรือนักศึกษาคนใดเอาอยู่ก็สามารถประสบความสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้วสำหรับที่ฉันคิดในส่วนของตรงนี้ นอกจากด้านคุณธรรมจริยธรรมแล้วสำหรับความคิดของดิฉัน ครูมืออาชีพต้องมีความพร้อม ครูต้องกล้าเสี่ยงกล้าที่จะทดลองใช้วิธีสอนอุปกรณ์ใหม่ๆ ต้องสอนให้นักเรียนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ควรมีวิธีการสอนที่น่าสนใจและควรดำเนินการตามแผนที่วางไว้สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ การจัดระบบได้อย่างเหมาะสมยอมรับผู้เรียนได้ทุกคน

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
           การสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI):  รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
            
ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนแนะให้รู้คิดได้แก่
     
               
             ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยมเน้นผู้เรียนลงมือกระทำกระตือรือร้นเรียนรู้ด้วยตนเอง
จองพีอาเจต์  โจโรม เอส บรูเนอร์ บอกว่า เมื่อเกิดการเรียนรู้สามารถทำให้มีสติปัญญาได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคือ


1. ผู้เรียนมีความแตกต่างผู้สอนต้องเข้าใจ
2.  ผู้เรียนเป็นคนลงมือกระทำแต่ผู้สอนแค่ชี้แนะ
3.  การเรียนเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวไปไกลตัว

บรูเนอร์   
บอกว่า การเรียนรู้เริ่มจากผู้เรียนอยากรู้อยากเห็น
อ๊อสชุเบล การเรียนรู้เกิดจากการเรียนรู้และเกิดความคิดรวบยอด

หลักการจัดรูปแบบของการสอนแนะให้รู้คิดมีหลักการคือ
  
      ความรู้ของครูบวกกับความเชื่อการตัดสินใจมาเสนอการจัดการในชั้นเรียน ทำให้นักเรียนเกิดควมเข้าใจและแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา เป็นการเรียนรู้ของนักเรียน

หลักการของการจัดการเรียนรู้แบบการสอนให้รู้คิด
      

1.  การจัดการสอนเน้นความเข้าใจเกิดทักษะแก้ปัญหา      
2. ให้นักเรียนลงมือกระทำ      
3. นักเรียนเกิดภาพ มโนทัศน์
4. มีการประเมินบ่อย ๆ เป็นการถามตอบ
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
     

1. ครูนำเสนอปัญหาในการเลือกควรเลือกปัญหาที่น่าสนใจสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน  
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนแก้ปัญหาและคอยชี้แนะ     
3. นักเรียนนำเสนอการแก้ปัญหาอาจเลือกถามนักเรียนเป็นรายบุคคล     
4. ครูนักเรียนร่วมกันอภิปรายและชี้แนะวิธีการที่แตกต่าง

บทบาทครูผู้สอนและบรรยากาศ

       ครูควรชี้แนะในขณะผู้เรียนทำกิจกรรม, ครูควรมีความกระตือรือร้น, ครูควรเตรียมสื่อให้พร้อม, ครูควรให้โอกาสในการทำกิจกรรมของนักเรียน, ควรหาปัญหาที่เหมาะสมกับนักเรียน,  ควรจัดให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง,ควรมีการให้นักเรียนทำงานกลุ่มใช้เวลาที่เหมาะสม, ไม่ควรเตรียมการสอนที่ตายตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการเวลาที่เหมาะสม


2.  ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
   ตอบ จากการที่ได้ศึกษาบทความสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เพราะในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สอนแนะให้รู้จักคิดนี้ดี เพราะจะเห็นได้ว่าปัจจุบันเด็กไทยแก้ปัญหาโจทย์คิดวิเคราะห์ไม่ค่อยได้เราจึงไม่ควรเป็นครูที่เท่าแต่คอยบอก คอยทำให้แต่ควรให้แนวทางพอให้นักเรียนเข้าใจ เมื่อนักเรียนเข้าใจก็สามารถไปวิเคราะห์และทำโจทย์ได้ ความคิดของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันเราควรให้นักเรียนนำเสนอแนวคิดทั้งกับเพื่อนทั้งกลุ่มและเดี่ยวอะไรที่เป็นข้อแตกต่างก็จะนำมาเป็นประเด็นสำคัญและทำให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น พอเรานำมาประเมินผลก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น


3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
  
ตอบ  สามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้เพราะแนวคิดนี้จะใช้ครูเป็นเพียงแนวทางชี้แนะ  แต่จะเน้นหลักในการฝึกให้นักเรียนคิดเองเป็น  บวกกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและความรู้ที่ใกล้ไปไกล  สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจสามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาเป็นดีกว่าเพียงให้นักเรียนท่องจำและเอาเนื้อหาแต่ตำรา
อย่างเช่นการสร้างทรงเรขาคณิตที่ทำจากกระดาษแข็งเราต้องเตรียมอุปกรณ์และอธิบายพอให้นักเรียนเข้าใจที่เหลือก็ให้เด็กคิดจินตนาการออกมาเอาแนวทางที่เราสอนขณะที่นักเรียนทำงานเราก็คอยดูแลคอยชี้แนะหลังจากทำกิจกรรมเสร็จก็นำผลงานที่ทำมาเสนอกันในกลุ่มเพื่อนพร้อมถามถึงปัญหาขณะที่ทำ  ดีกว่าเราทำให้ดูแต่เด็กไม่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
          ในขณะที่พระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมที่ใดพระองค์ทรงทำให้ดูก่อนทุกครั้ง  ไม่ว่าสถานที่นั้นจะเป็นดินโคลนหรืออย่างไร  เพื่อเป็นแรงและกำลังใจก่อน  พระเจ้าอยู่หัวบอกว่าการทำอะไรต้องคิดด้วยว่าถูกต้องหรือเปล่ามีเหตุผลมากน้อยเพียงใด  ความสุขหรือความทุกข์เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ   และมีอีกคือต้องระมัดระวังปากคำพูดด้วย  การเป็นผู้นำนั้นต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน เพราะก่อนจะให้นักเรียนดีครูต้องดีก่อนก่อนจะสอนให้เด็กทำอะไรครูต้องเป็นก่อน    การเป็นครูของในหลวงนั้นทำในห้องก็อีกอย่างหนึ่งนอกห้องก็ต้องอีอย่างหนึ่งต้องเรียนอย่างจิงจังทำอะไรก็ต้องจิงจัง

และธรรมชาติก็สร้างมาอย่างนั้นไม่ควรไปสู้กับธรรมชาติ  ควรที่จะปรับตัวเข้าหา  และการที่ได้ไปเรียนเมืองนอกก็ใช่ว่าจะดีพร้อม   ประเทศไทยก็มีอะไรที่ดีให้ศึกษา  เหมือนกับมีเงินเป็นล้านแต่ทำอะไรที่ไม่มีประโยชน์หรือขาดสติก็ไม่ได้ผล  ไปอยู่ที่ใดก็ไม่ควรลืมหลักเดิมของเรา  และต้องเป็นคนที่มีเมตตา   และที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือความสามัคคีในประเทศ
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

ตอบ 
จากบทความนี้มีประโยชน์มากเพราะการเป็นผู้นำหรือถ้าเราไปเป็นครูเราต้องเป็นครูที่ดี  ก่อนที่เราจะให้นักเรียนเป็นนักเรียนที่ดีมีวินัยเราควรเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน  และต้องทำอย่างจิงจังเหมือนกับถ้าเราเป็นครูต้องรักในอาชีพครู  ควรมีทั้งการสอนในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  และเด็กในปัจจุบันก็มีความสามารถที่ไม่เหมือนกันเราควรปรับตัวด้วย   และเรายังสามารถนำไปสอนให้กับ

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
  ตอบ   สามารถนำมาออกแบบการเรียนการสอนได้เช่น พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษามากเราก็สามารถนำมาสอนเด็ก ๆ ให้ตั้งใจเรียนได้  และจากบทความเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนว่า  การศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนต่างประเทศก็สามารถประสบความสำเร็จได้















กิจกรรมที่7

  รายการโทรทัศน์ครู

1.สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน

          ความพันธ์ะหว่างรูปเรขาคณิต 
2 มิติ  และ3  มิติ
          
.  สมกมล  ปุณณโกศล       รร. รัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน       ชั้น ม. 1

2.เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง

        
ครูจะเริ่มจากแบบทดสอบก่อนเรียนตามด้วย  และในขณะที่สอนก็จะนำสื่อประดิษฐ์ที่เตรียมมา
โชร์ให้เด็กดูพร้อมทั้งถามตอบหน้าชั้นเรียนเช่น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อนเฉลยก็จะถามนักเรียนว่าเป็นรูป
อะไรเมื่อนักเรียนตอบได้แล้วก็จะถามต่อว่าทำไมถึงเป็นรูปแบบอย่างนั้น ก็เพราะว่า  ด้านตรงข้าม สอง ด้านมีขนาดเท่ากัน
        หลังจากนั้นครูก็ลองเลื่อนรูปซึ่งทำให้รูปเปลี่ยนไปครูก็จะคอยถามต่อไปอีกว่า  กลายเป็นรูป
อะไรเพราะเหตุใด และยังมีรูปอื่นมากมายเช่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า   ถ้าเลื่อนจะ
จะเปลี่ยนไปในรูปแบบใด     นอกจากนั้นก็ยังมีตัวอย่างปริซึม 5 เหลี่ยม ที่เป็นปริซึม 5   เหลี่ยม  ที่
สามารถดูว่าเป็นรูป 
5  เหลี่ยมดูจากหัวและด้านล่างหน้าตัดและยังมีรูปแบบอื่นๆอีกเช่น 

-รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
-ทรงกรวย
-วงกลม
-ทรงกลม 

แต่เด็กอาจแยกไม่ถูกว่าเป็นรูปสามมิติหรือ สองมิติ

        ค
รูสมกมลจะมีการเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันว่าเป็นอย่างไรเช่นทรงกรวยก็จะเปรียบเทียบกับกรวยใส่ไอติมและยังมีการเอาหนังสือมายกตัวอย่าง   ร้อมถามว่าที่นักเรียนเห็นมองเป็นรูปอะไร  เป็นรูป 2 หรือ สามมิติ นักเรียนก็ตอบได้ว่า ทรง3 มิติ เพราะว่ามีความหนาความสูง ซึ่งส่งผลต่อคำถามที่ว่า ทรง 3 มิติ เกิดจากอะไร ครูก็ได้ทดลองนำวงกลมที่ประดิษฐ์ที่เป็นสองมิติมาซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น ซึ่ง 3 มิติ ก็จะเกิดจาก ทรงสองมิติซ้อนกันหลายๆ ชั้นถ้าสี่เหลี่ยมก็จะกลายเป็นลูกบาศก์
        นอกจากครูจะสอนแล้วยังให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประกอบเช่นรูปคลี่  และหลังจากได้เรียน
รู้แล้วก็ลองให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนผลที่ออกมาก็คือนักเรียนทำแบบทดสอบได้
สมกมลบอกว่าการที่ได้ประดิษฐ์สื่อนำมาสอนเด็กนั้นมันมีค่ามากกว่าเงินทองหลายกองมาวางไว้


4.บรรยากาศจัดห้องเรียนนั้นเป็นไปอย่างสนุกสนานเพลิดเพลินนักเรียนทุกคนสนุกมาก

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่6

ในฐานะที่ผมเป็นครูสอนสังคมศึกษาอยากจะนำเสอนสิ่งที่เป็นความรู้ต่อการศึกษาวิชาสังคมศึกษาครับ