Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่2

ทฤษฏีการบริหารการศึกษา
Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น

ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์  (Maslow’s Hiarachy of Needs)  เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ ถ้ามนุษย์ได้รับการตอบสนองที่ต้องการ ย่อมเกิดความพึงพอใจ และช่วยให้มีความสุข มาสโลว์ จึงได้แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1. ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน   2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง  3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  4. ความต้องการการยกย่อง และ 5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น    
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ทฤษฎี X เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ทฤษฎี Y เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน                
William Ouchi : ทฤษฎี Z
  เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน หรือเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎี Z ซึ่งเกิดจากคนอเมริกัน ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น ชื่อ วิลเลี่ยม โอชิ ได้ศึกษาวิจัยว่า แนวความคิดในการบริหารจัดการของโลก                                                                                                                                    
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory                                                                                              

   ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
2. Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน
3. Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่    เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ วิญญาณแห่งหมู่คณะ
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)  เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้   1. การจัดแบ่งงาน 2. การมีอำนาจหน้าที่ 3. ความมีวินัย 4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา 5. เอกภาพในทิศทาง 6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม 8. ระบบการรวมศูนย์ 9. สายบังคับบัญชา 10. ความเป็นระบบระเบียบ 11. ความเท่าเทียมกัน 12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร  13. การริเริ่มสร้างสรรค์ 14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ      
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy ซึ่งเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสมแล้ว เวเบอร์มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การ 6 ประการ ได้แก่  1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่าย และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน 2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ 3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น 4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ 5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ 6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ                              
Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการ มาใช้ในการบริหาร ดังนี้   1. P คือการวางแผน (planning) 2. O คือการจัดองค์การ (organizing) 3. D คือการสั่งการ (directing) 4. S คือการบรรจุ (staffing) 5. CO คือการประสานงาน(co-ordinating) 6. R คือการรายงาน (reporting) 7. B คือการงบประมาณ (budgeting)
Frederick Herzberg  เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน ซึ่งเขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors และ 2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่ 1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง  2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน 3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน 4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงาน
Henry L. Gantt  เป็นผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart) ซึ่งเป็นแนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน


บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
                การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ซึ่งเรียกตัวเองว่า “Cameralists” ให้คำจำกัดความ  การบริหาร  หมายถึง  การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ  ของรัฐ  ต่อมาพวกอเมริกันที่เรียกว่า  Federalist  ให้ความหมาย  การบริหาร คือ  การบริหารของรัฐ   หรือการบริหารตามแนวรัฐศาสตร์ปรัชญาของการบริหารการศึกษามีอยู่  13  ประการ  คือ 1.ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาดไหวพริบมาใช้แก้ปัญหา  2. ผู้บริหารต้องเปิดให้คนเข้าร่วมในการทำงาน 3.ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน   4.ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมายของการศึกษาเป็น 5.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้ประสานประโยชน์  6.ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้คนเข้าพบทำความเข้าใจ 7.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้นำ 8.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือนักศึกษาผู้ยึดมั่น 9. ผู้บริหารต้องเสียสละทุกอย่าง 10. ผู้บริหารจะต้องประสานงาน 11.ผู้บริหารจะต้องบริหารงานอยู่เสมอ 12.ผู้บริหารต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร 13.ผู้บริหารต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ  และแสวงหาความชำนาญ

 บทที่  2
   วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ  เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง จน ค.ศ.1887 Woodrow Wilson ได้เขียนหนังสือว่า การบริหารงานของรัฐหมายถึง  การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน  ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหารวิวัฒนาการด้านธุรกิจ  การปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อศตวรรษที่ 19 ทำให้ต้องการเปลี่ยนแปลงการบริหารที่ทันสมัยมากขึ้น ที่มุ่งแสวงหากำไร ผลประโยชน์เป็นเป้าหมายสำคัญ

 การแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
  ยุคที่1  นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
            ยุคที่2  ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ การประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
          ยุคที่3  ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ และการประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา   
บทที่  3
    งานบริหารการศึกษา
ขอบข่ายการบริหารการศึกษา
1.การผลิต  หมายถึง  กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้นในทางการศึกษา
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน  หมายถึง  กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี  หมายถึง  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร  คือ  การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษาหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2  เรื่อง  คือ  1.การจัดระบบสังคม และ 2.เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษา สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับชาติ  ระดับท้องถิ่น  ระดับโรงเรียน  คือ  จะต้องรู้จักเด็กทุกคน  โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน  และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกัน โดยใช้กระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา  ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
ทฤษฏีการบริหารการศึกษา
Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น

ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์  (Maslow’s Hiarachy of Needs)  เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ ถ้ามนุษย์ได้รับการตอบสนองที่ต้องการ ย่อมเกิดความพึงพอใจ และช่วยให้มีความสุข มาสโลว์ จึงได้แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1. ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน   2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง  3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  4. ความต้องการการยกย่อง และ 5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น    
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ทฤษฎี X เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ทฤษฎี Y เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน                
William Ouchi : ทฤษฎี Z
  เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน หรือเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎี Z ซึ่งเกิดจากคนอเมริกัน ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น ชื่อ วิลเลี่ยม โอชิ ได้ศึกษาวิจัยว่า แนวความคิดในการบริหารจัดการของโลก                                                                                                                                    
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory                                                                                              

   ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
2. Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน
3. Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่    เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ วิญญาณแห่งหมู่คณะ
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)  เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้   1. การจัดแบ่งงาน 2. การมีอำนาจหน้าที่ 3. ความมีวินัย 4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา 5. เอกภาพในทิศทาง 6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม 8. ระบบการรวมศูนย์ 9. สายบังคับบัญชา 10. ความเป็นระบบระเบียบ 11. ความเท่าเทียมกัน 12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร  13. การริเริ่มสร้างสรรค์ 14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ        
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy ซึ่งเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสมแล้ว เวเบอร์มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การ 6 ประการ ได้แก่  1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่าย และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน 2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ 3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น 4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ 5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ 6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ                              
Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการ มาใช้ในการบริหาร ดังนี้   1. P คือการวางแผน (planning) 2. O คือการจัดองค์การ (organizing) 3. D คือการสั่งการ (directing) 4. S คือการบรรจุ (staffing) 5. CO คือการประสานงาน(co-ordinating) 6. R คือการรายงาน (reporting) 7. B คือการงบประมาณ (budgeting)
Frederick Herzberg  เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน ซึ่งเขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors และ 2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่ 1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง  2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน 3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน 4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงาน
บทที่ 5 องค์การและการจัดองค์การ

            
องค์การ หมายถึงโครงสร้างหรือกระบวนการที่กลุ่มจัดตั้งขึ้นมีการกำหนดกิจกรรม หรืองานออกเป็นประเภทต่างๆ และมอบหมายความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ ให้แก่สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย มี 4 ระบบ คือ
1. ระบบโครงสร้างการบริหาร  เน้น โครงสร้างกระบวนการ
2. ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีดำเน้นงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การ
4. ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้บริการ

บทที่ 6  การติดต่อสื่อสาร

การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่สำคัญ ผู้บริการจะบริหารได้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบริหาร
การติดต่อสื่อสาร คือ การที่บุคคลทั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข่าวสารกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างกันหรือเพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความสำคัญของการสื่อสาร
            1.การสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์การ จะไม่สามารถจะใช้วิธีการสื่อสารปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป
            2.แม้ว่าองค์การจะใช้เครื่องมือแทนการทำงานของมนุษย์ แต่การสื่อสารจะต้องถูกนำมาใช้ในรูปการสื่อความหมาย
กระบวนการติดต่อสื่อสาร
1.       สื่อที่ใช้ในการติดต่อ
2.       ช่องทางที่สื่อจะผ่าน คือ เครือข่าย
3.       กระบวนการ คือ ขั้นตอนที่เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
4.       เสียงรบกวนที่กีดขวางการติดต่อสื่อสาร
5.       ข้อมูลป้อนกลับในการติดต่อสื่อสาร
6.       สถานการณ์และปัจจัยขององค์การในการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร มี 5 ประการ คือ
1.       ผู้ทำการติดต่อสื่อสาร
2.       ติดต่อสื่อสารด้วยการพูด การส่งหรือการออกกำสั่ง
3.       ด้วยข่าวสาร
4.       ผู้รับการติดต่อสื่อสาร
5.       การตอบรับ
รูปแบบการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.       การติดต่อสื่อสารแบบพิธีการ        
2.       การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นพิธีการ

บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ คือ การอำนวยการ การจูงใจ การริเริ่ม การประนีประนอม การประสานงาน ควบคุมงาน ตรวจตรา กำหนดนโยบายวินิจจัยสั่งการ

บทที่ 8 การประสานงาน
การประสานงาน คือ การจัดระเบียบการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทำงานซับซ้อนกัน ขัดแย้งกัน และเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
ความมุ่งหมายในการประสานงาน
1.       ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
2.       เพื่อขจัดความซับซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น อันจะนำมาซึ่งความสิ้นเปลือง กำลังคน กำลังเงิน
3.       เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง
  ภารกิจในการประสานงาน   
1.       นโยบาย
2.       ใจ
3.       แผน
4.       งานที่รับผิดชอบ
5.       คน
6.       ทรัพยากร
อุปสรรคในการประสานงาน
1.       การขาดมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงาน
2.       การขาดแผนการปฏิบัติงาน
3.       ขาดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
4.       การสื่อสารที่ไม่ดี เกิดติดขัด


บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ

การตัดสินใจ คือ การบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนการกำหนดนโยบาย เป้าหมายในการบริหาร ขั้นการวางแผน ประสานงาน การดำเนินงานจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติ ซึ่งทุกระดับจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
1.       ข่าวสาร ที่จะนำมาสนับสนุนเพื่อเป็นมูลฐานของการวินิจฉัยสั่งการ
2.       การเสี่ยง  จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงว่าจะมีความเสี่ยงมาน้อยเพียงใด
3.       นโยบาย การวินิจฉัยสั่งการจะต้องคำนึงถึง นโยบายขององค์การว่า มีอยู่อย่างไร การวินิจฉัยสั่งการในเรื่องใดจะต้องให้สอดคล้อหรือเป็นไปตามนโยบาย
4.       ปัญหาต่าง ๆ
5.       เวลา
ประโยชน์ของการตัดสินใจ
1.       ทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ / เป้าหมายขององค์การ
2.       ก่อให้เกิดการแระสานงานที่ดี ลดความซ้ำซ้อน
3.       ช่วยประหยัดทรัพยากร
4.       ทำให้การประสานงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น